ความเป็นมาของงานการศึกษาพิเศษ ในวิทยาลัยครูสวนดุสิต เริ่มในปี พ.ศ. 2512 โดยมีรายละเอียดดังนี้
พ.ศ. 2512 | เปิดศูนย์ทดลองเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเป็นครั้งแรก จำนวน 1 ห้องเรียน โดยรับนักเรียนสาธิตที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จำนวน 6 คน |
พ.ศ. 2513 | ขอความร่วมมือจากครูประจำชั้นอนุบาลปีที่ 2 ส่งนักเรียนอนุบาลห้องละ 1 คนมาเรียนร่วมกับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน |
พ.ศ. 2514 | ส่งนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จำนวน 2 คน ทดลองเข้าเรียนร่วมกับเด็กปกติ ที่โรงเรียนพญาไท |
พ.ศ. 2519 | หน่วยงานทดลองโครงการการศึกษาพิเศษ ได้รับยกฐานะให้เป็นภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ โดยการอนุมัติของสภาการฝึกหัดครู |
พ.ศ. 2520 | ทดลองสอนเด็กเรียนช้า 1 กลุ่ม มีนักเรียนจำนวน 2 คน |
พ.ศ. 2533 | ผศ.ดร.เบญจา ชลธาร์นนท์ ผศ. สุวิมล อุดมพิริยะศักย์ และผศ.สุดคนึง สุนทรวรคุณ จัดตั้งศูนย์บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กตาบอดและครอบครัวโดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันฮิลตันเปอร์กินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วยเหลือด้านวิชาการและด้านการเงิน |
พ.ศ. 2539 | จัดตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ ภายใต้โปรแกรมวิชาการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร์ โดยแบ่งการบริหารงานออกเป็นฝ่ายบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กพิการและครอบครัว และฝ่ายสาธิตการศึกษาพิเศษ |
พ.ศ. 2549 | ศูนย์การศึกษาพิเศษ เพิ่มฝ่ายเด็กพิการซ้อน |
พ.ศ. 2551 – ปัจจุบัน | ศูนย์การศึกษาพิเศษ ได้ย้ายสังกัดจากคณะครุศาสตร์ไปสังกัดโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ โดยแบ่งการบริหารงานออกเป็น 3 กลุ่มงาน คือ 1. กลุ่มงานบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กพิการและครอบครัว (Early Intervention : EI) 2. กลุ่มงานนักเรียนเรียนร่วม ระดับชั้นอนุบาล 3. กลุ่มงานบริการสอนเสริมนักเรียนเรียนร่วม ระดับชั้นประถมศึกษา |